หมอสมองเปิด 9 ปัจจัยทำเด็กเสี่ยงจิตใจโหด

นพ.สุรัตน์ หมอโรคระบบประสาทและสมอง เปิด 9 ปัจจัยทำเด็กเสี่ยงจิตใจโหด พร้อมเผยข้อมูลเด็กติดเกมส์เลียนแบบเกมส์จริงมั๊ย?

จากเหตุการณ์ ด.ช.14 ปี กราดยิงในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เมื่อช่วงเย็นวันที่ 3 ต.ค.66 ทำให้สังคมเกิดข้อสงสัยว่าเกิดจากแรงจูงใจอะไร และหนึ่งในนั้นคือ คาดการณ์ว่าเป็นเพราะติดเกมส์ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เบื้องต้นมีผู้ถูกยิง 7 คน เสียชีวิต 2 คน เป็นชาวจีน และชาวเมียนมา ซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 คน

Live อัปเดต : พารากอน เกิดเหตุชุลมุน หลังมีเสียงดังคล้ายปืน หลายนัด“บิ๊กต่อ” ยกเคส มือปืนวัย 14 ปี ต้องถอดบทเรียนเพื่อเฝ้าระวัง

ขณะที่ทวิตเตอร์ดัน แฮชแท็ก อย่าโทษเกมส์ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ซึ่งมีการถกเถียงกันว่าเป็นเพราะเกมส์ และไม่ได้เกี่ยวกับการเล่นเกมส์

วันนี้ อีจัน แข็งแรง จะพามาดูข้อมูลจากหมอโรคระบบประสาทและสมอง ว่าติดเกมส์เลียนแบบจริงไหม?

ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบประสาทและสมอง โพสต์ข้อความผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก “สาระสมอง กับ อจ.หมอสุรัตน์” วิเคราะห์เกี่ยวกับข่าวเด็กวัย 14 ไล่ยิงคนกลางห้างพารากอน ว่า …

มีคนขุดประวัติติดเกมส์ยิงกัน เกมส์โหด มาเป็นแพะ นี่ไง เด็กติดเกมส์ เลยเลียนแบบเกมส์ไง แล้วมันจริงหรือ เรามาดูข้อมูลกันดีกว่า

เรื่องราวนี้ ถูกวิจัยใน สหราชอาณาจักร ในกลุ่มเด็กติดเกมส์รุนแรง โหดร้าย กว่า 1,000 ราย แล้วเอาเด็กเหล่านี้มา ทดสอบทางจิตวิทยา พฤติกรรม ว่า โหดร้าย และ ก้าวร้าว หรือ มีแนวคิดเป็นฆาตกรจริงหรือ เด็กก็อายุนี่แหละ 14-15 ปี วัยเดียวกับมือปืนเลย วิจัยใน ปี 2019

ผลปรากฎว่า ในวิจัย มันไม่เกี่ยวกันเลย เด็กติดหรือเล่นเกมส์โหดร้ายยิงกัน ไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรม จริงๆ ในต่างประเทศ ก็ทำวิจัยเชิงนี้เยอะ ผลมันออกมาว่า ไม่ชัดเจน (แต่ในกลุ่มจิตเวช สิ่งแวดล้อมหลายๆ อย่างอาจเป็นตัวกระตุ้น ทั้งข่าว ทั้งเลียนแบบ หรือเกมส์)

แล้วอะไรทำให้จิตใจโหดร้าย สรุป 9 ปัจจัย ทำเด็กโหดได้ คือ  

1. สภาพแวดล้อมทางสังคม : การเติบโตในละแวกใกล้เคียงที่มีอัตราการก่ออาชญากรรมสูงหรือพบปะกับกลุ่มเพื่อนอาชญากร สามารถเพิ่มโอกาสที่คนหนุ่มสาวจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางอาญาได้

2. พลวัตของครอบครัว : สภาพแวดล้อมในครอบครัวที่ผิดปกติ ความผิดทางอาญาของผู้ปกครอง การละเลย หรือการทารุณกรรมในวัยเด็ก อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมทางอาญาในวัยหนุ่มสาว ตีเด็ก ทุบหัวเด็ก โตขึ้น มันก็ไปตีหัวคนอื่น

3. การใช้สารเสพติด : การใช้สารเสพติด รวมถึงการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติด มักเชื่อมโยงกับกิจกรรมทางอาญาในหมู่คนหนุ่มสาว เนื่องจากอาจทำให้วิจารณญาณลดลงและนำไปสู่พฤติกรรมที่ผิดกฎหมายได้

4. ปัญหาสุขภาพจิต : คนหนุ่มสาวที่มีความผิดปกติด้านสุขภาพจิตที่ไม่ได้รับการรักษาหรือไม่ได้รับการวินิจฉัยอาจมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมทางอาญามากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการของพวกเขานำไปสู่ความหุนหันพลันแล่นหรือก้าวร้าว พ่อแม่สังเกตดีๆ อย่าอวยว่าลูกชั้นปกติ

5. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ : ความไม่มั่นคงทางการเงิน การขาดโอกาสทางการศึกษา และโอกาสในการจ้างงานที่จำกัด อาจทำให้คนหนุ่มสาวบางคนหันเข้าหากิจกรรมทางอาญาเพื่อความอยู่รอด

6. แรงกดดันจากเพื่อนฝูง : อิทธิพลจากเพื่อนฝูงที่มีพฤติกรรมก่ออาชญากรรมสามารถชักนำให้คนหนุ่มสาวเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ผิดกฎหมายได้ เนื่องจากพวกเขาอาจแสวงหาการยอมรับจากแวดวงสังคมของตน พ่อแม่ ให้ลูกพาเพื่อนๆ มาบ้านบ้าง สอดส่องดูแล

7. การขาดแบบอย่างเชิงบวก : การไม่มีแบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่หรือพี่เลี้ยงในชีวิตคนหนุ่มสาวอาจส่งผลให้ขาดคำแนะนำและเพิ่มความเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางอาญา

8. ความขาดด้านการศึกษา : การไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสามารถจำกัดโอกาสสำหรับเยาวชน และอาจผลักดันพวกเขาไปสู่กิจกรรมทางอาญา

9. ความหุนหันพลันแล่น : เนื่องจากอยู่ในช่วงพัฒนาการของคนหนุ่มสาว อาจมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจแบบหุนหันพลันแล่นมากกว่า ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมทางอาญาในบางสถานการณ์ได้

นี้เป็นปัจจัย ซึ่งหากหลายคนมีหลายปัจจัย ก็ยิ่งเสี่ยง

และอีกข้อ เป็น “กรรม” เกิดมาเป็น ไซโคพาธ (Psychopath) คือ ผู้ที่มีภาวะผิดปกติทางจิตใจชนิดหนึ่งเองเลย สมองฆาตกร

เท่าที่ทราบจากข่าว เด็กมีภาวะจิตเวช อาจเกิดจากแรงกดดันในวัยเด็ก เข้าสังคม เจอเพื่อนที่เร่งเร้าเรื่องการใช้ความรุนแรง ท้าทายกัน ทำให้สภาพจิตใจที่ไม่ปกติ คิดกระทำโดยรู้เท่าถึงการณ์

อ่านจบแล้วลองย้อนถามตัวเองดูนะคะ ว่าคนรอบข้างเรา ลูกหลานเรา หรือแม้แต่ตัวเราเป็นแบบนี้หรือไม่

คลิปอีจันแนะนำ
นาทีรวบตัว มือปืนวัย 14 ยิงในพารากอน